การใช้โปรแกรมยูทิลีตี้
การใช้โปรแกรมยูทิลีตี้
ความหมายของโปรแกรมยูทิลิตี้ โปรแกรม หมายถึงโปรแกรมที่ช่วยจัดการระบบทางด้านต่าง ๆ รวมไปถึงดูแลรักษาและซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 98 ได้มีการพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ เพิ่มขึ้นเพื่อใช้สำหรับดูแลรักษาระบบและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ อีกทั้งทำการซ่อมแซมบำรุงรักษาให้คอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงข้อแนะนำและแนวทางแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โดยเครื่องมือเหล่านี้ถูกต้องอยู่ในกลุ่มของคำสั่ง System Tools ใน Accessory โดยหน่วยนี้จะกล่าวถึงวิธีการใช้งานโปรแกรมเหล่านี้ และประโยชน์ที่จะได้รับเมื่อเรียกใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้หัวข้อคำสั่ง System Tools โปรแกรม Scandisk โปรแกรม Scandisk เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของหน่วยสำรองข้อมูลประเภทฮาร์ดดิสก์ และฟล็อปปี้ดิสก์ ว่ามีส่วนที่ไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ รวมถึงตรวจสอบโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลว่ามีความถูกต้องหรือไม่หากพบปัญหาเกิดขึ้นโปรแกรม Scandisk จะทำการแก้ไขโดยอัตโนมัติ และรายงานผลการแก้ไขให้ผู้ใช้งานทราบ
การใช้งาน Scan Disk สำหรับตรวจสอบข้อผิดพลาดของ ฮาร์ดดิสก์
Scandisk เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับ ทำการตรวจสอบการทำงาน และความบกพร่องของฮาร์ดดิสก์ และระบบไฟล์ของ Windows ในเบื้องต้น เมื่อใช้งาน Windows ไปนาน ๆ และรู้สึกว่าการทำงานต่าง ๆ ของ Windows เริ่มจะมีปัญหา อาจจะใช้โปรแกรม Scandisk เพื่อทำการตรวจสอบ ฮาร์ดดิสก์และระบบไฟล์ต่าง ๆ ของ Windows ได้ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาของระบบไฟล์ ถ้าหากการเสียหายนั้นไม่มากจนเกินไป
การเรียกใช้โปรแกรม Scandisk
เรียกใช้โปรแกรม Scandisk โดยการกดเลือกที่ Start Menu เลือกที่ Programs และเลือก Accessories เลือกที่ System Tools และเลือก Scandisk ตามรูปตัวอย่าง
กดเลือกที่ Scandisk เพื่อเริ่มต้นการทำงานของโปรแกรม
หน้าตาของเมนูการเลือก Scandisk ซึ่งมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
Select the drive(s) คือช่องสำหรับเลือกฮาร์ดดิสก์ ที่ต้องการทำการตรวจสอบ Standard จะเป็นการตรวจสอบเฉพาะระบบไฟล์ต่าง ๆ เท่านั้น Thorough จะเป็นการตรวจสอบระบบไฟล์ต่าง ๆ และทำการทดสอบพื้นที่ใช้งานด้วยว่ามีปัญหาหรือไม่ Automatically fix errors เป็นการกำหนดให้ทำการแก้ไขปัญหาที่พบโดยอัตโนมัติ เมื่อพบข้อผิดพลาดขึ้น
เมื่อเลือกค่าต่าง ๆ ได้เรียบร้อยแล้วก็กดที่ Start เพื่อเริ่มต้นการทำการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์ได้เลย ในที่นี้ หากฮาร์ดดิสก์ ไม่ได้มีปัญหาอะไรมากนัก ก็ทำแบบ Standard ก็พอแล้ว แต่ถ้าหากเป็นฮาร์ดดิสก์ทีสงสัยว่าใกล้จะเสีย หรือคิดว่าปัญหาเกิดจาก ฮาร์ดดิสก์แล้ว ให้เลือกที่ Thorough ครับซึ่งจะทำการตรวจสอบพื้นผิวได้ดีกว่า (แต่ก็จะใช้เวลานานด้วย)
หน้านี้ คือรายงานผลของการตรวจสอบเมื่อสิ้นสุดครับ
จะเป็นรายละเอียดต่าง ๆ ของฮาร์ดดิสก์ที่ทำการตรวจสอบ
การเลือกค่าต่าง ๆ ในแบบ Advanced
นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถทำการเลือกค่าต่าง ๆ แบบ Advanced ได้ด้วยโดยการกดเลือกที่ปุ่ม Advanced...
เป็นการเลือกค่าต่าง ๆ ดังนี้
System and data areas คือเลือกทำการตรวจสอบในส่วนของไฟล์ระบบ และไฟล์ข้อมูล
System area only คือเลือกทำการตรวจสอบในส่วนของไฟล์ระบบเท่านั้น
Data area only คือเลือกทำการตรวจสอบในส่วนของไฟล์ข้อมูลเท่านั้น
Do not perform write-testing คือการเลือกให้ไม่ต้องทำการทดสอบการเขียนข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์
Do not repair bad sectors... คือการเลือกให้ไม่ทำการซ่อมแซมไฟล์ที่เสียหาย หากเป็นไฟล์ของระบบหรือไฟล์ที่ซ่อนไว้ เลือกค่าต่าง ๆ แล้วกดที่ OK
การเลือกค่าต่าง ๆ ในเมนู Options
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น